รายงานข่าวจากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) แจ้งว่า ภาพรวมการก่อสร้างโครงการศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ภายในท่าอากาศยานอุบลราชธานี วงเงินประมาณ 86.8 ล้านบาท มีความคืบหน้าประมาณ 74% ล่าช้าจากแผนประมาณ 10% ผู้รับจ้างอยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินงาน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 66 และจะเปิดให้บริการก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 66 เป็นของขวัญปีใหม่ไทยให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งศูนย์ขนส่งฯ ดังกล่าว จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานอุบลราชธานี สามารถเดินทางเชื่อมต่อจากทางอากาศไปยังทางบกได้แบบไร้รอยต่อ โดยเฉพาะการเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง หรือไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ศูนย์ขนส่งฯ จะอยู่ติดกับอาคารที่พักผู้โดยสาร เป็นอาคารขนาดชั้นเดียว พื้นที่ประมาณ 900 ตารางเมตร (ตร.ม.) มีระบบปรับอากาศ นอกจากนี้ จะมีลานจอดรถในร่มมีหลังคาสำหรับรถยนต์ส่วนตัว เป็นลานกว้างๆ ขนาดพื้นที่ประมาณ 6,800 ตร.มคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. รองรับรถยนต์ได้ประมาณ 200 คัน ส่วนภายในศูนย์ขนส่งฯ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบครัน ทั้งเก้าอี้ที่พักคอย มีห้องน้ำสะอาด และมีศูนย์อาหารด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เมื่อผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน และรับกระเป๋าสัมภาระแล้ว สามารถเดินเชื่อมต่อจากอาคารผู้โดยสาร มายังศูนย์ขนส่งฯ ได้เลย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสถานีขนส่งรถโดยสาร มีชานชาลา และช่องจอดรถขนส่งสาธารณะประเภทต่างๆ อาทิ รถตู้ รถโดยสารประจำทางเข้าเมือง และรถแท็กซี่ โดยในอนาคตหากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อนุมัติให้รถโดยสารประจำทางเดินรถข้ามอำเภอได้ ก็จะให้จอดที่ศูนย์ขนส่งฯ แห่งนี้ด้วย ขณะเดียวกัน จะย้ายบูธที่เปิดให้บริการรถเช่าต่างๆ รวมถึงรถเช่าขับเอง และรถเช่าพร้อมคนขับ (ลีมูซีน) มาอยู่ที่ศูนย์ขนส่งฯ ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ช่วยลดปัญหาแออัดบริเวณด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ปัจจุบันผู้โดยสารกลับมาใช้บริการท่าอากาศยานอุบลราชธานีเกินครึ่งแล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อปี 62 โดยขณะนี้ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 3,800-4,000 คน มีเที่ยวบินประมาณวันละ 26 เที่ยวบิน (ไป-กลับ) ขณะที่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 5,000-6,000 คน และมีเที่ยวบินประมาณวันละ 46 เที่ยวบิน (ไป-กลับ) โดยท่าอากาศยานอุบลราชธานี ถือเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของท่าอากาศยานสังกัด ทย. 29 แห่ง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในอนาคตท่าอากาศยานอุบลราชธานี มีแผนขยายลานจอดอากาศยาน จากเดิมจอดได้ 4-5 ลำ พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เป็น 10 ลำ วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท เบื้องต้นจะเสนอบรรจุไว้ในคำของบประมาณปี 67 เพราะปัจจุบันลานจอดอากาศยานค่อนข้างแน่น หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือหากมีเครื่องบินเล็กมาจอดด้วย จะไม่มีที่จอด ซึ่งขณะนี้มี 5 สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ประกอบด้วย สายการบินไทยสมายล์, สายการบินไทยเวียตเจ็ท, สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินนกแอร์ และสายการบินไทยไลอ้อนแอร์.