หัวใจแรงงาน
1 พฤษภาคม "วันแรงงานแห่งชาติ" เปิดที่มาของวันหยุดสำคัญประจำปี
ปี 66 แรงงานไทยเครียดจัด แห่โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต
…ด้นดั้นค้นฝันในเมืองใหญ่ กลางเมืองศรีศิวิไลซ์เซชั่น บ้างแบกภาระสาหัสสากรรจ์ บ้างฝ่าฟัน ฝ่าฝัน ถึงเส้นชัย . เป็นแรงงาน หาแรงเงินเลี้ยงปากท้อง หมายปองถึงชีวิตใหม่ บางค่ำคืนกลืนเจ็บ อักเสบทรวงใน บางวันคว้าไขว่ ได้สุขมา
.
กรากกรำทำงานไกลถิ่น ค่าเหงื่อไหลริน ไม่พอข้าวจานสูงค่า กอบเก็บเบี้ยสักก้อน ก่อนกลับบ้านนา แต่เมืองฟ้า ยังไม่ใจดี
.
กรากกรำทำงานไกลบ้าน รัฐสวัสดิการ กำหว่านไม่ทั่วที่ เฝ้าหวังผู้แทน เห็นใจปรานี ต้องรออีกกี่ดินฟ้าจะมาถึง…
ผู้ใช้แรงงานเป็นฟันเฟืองหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากฟันเฟืองตัวใดตัวหนึ่งติดขัด อาจสร้างผลกระทบในหลายด้าน พีพีทีวี ร่วมพูดคุยกับผู้ใช้แรงงานในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ หลายคนบอกว่า ค่าครองชีพแพง ค่าแรงถูก ทำให้ชีวิตมีเงื่อนไขยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพี่น้องแรงงานมีความฝัน ความหวัง ว่า การเลือกตั้ง 2566 จะทำให้ชีวิตดีขึ้น แม้จะไม่ใช่ในเร็ววัน หรือถ้านโยบายของพรรคต่าง ๆ ทำได้อย่างที่ประกาศไว้ ถือเป็นความแข็งแรงของฟันเฟืองและความมั่นคงของประเทศไทย
นายชาย อายุ 41 ปี ชาวเลย อาชีพก่อสร้าง (ภาพด้านบน)
เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 11 ปี กลับบ้านยังไม่ได้ เพราะลูกยังไม่โต ต้องหาเงินเลี้ยงก่อน ถ้ามีเงินสักก้อนถึงจะกลับ อยู่บ้านมีไร่ ก็ปล่อยให้คนมาเช่า เพราะตัวเองไม่มีทุนทำ ซึ่งถ้าทำไร่เองก็มีแต่จ้างแล้วจะไม่ได้กำไร มีความหวังว่าหลังการเลือกตั้ง รัฐจะช่วยคุ้มครองคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และอยากให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 500 บาท
3 โรคยอดฮิตชาวแรงงาน แก้ได้ด้วย "ศาสตร์แพทย์แผนไทย"
นายสิลา อายุ 54 ปี พนักงานเก็บขนขยะ ชาวสุรินทร์
การทำงานในแต่ละวันมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เช่น ถุงมือไม่เพียงพอ รองเท้าไม่เหมาะในงานทำงาน ทั้งค่าแรงไม่ขึ้นมา 15 ปีแล้ว หลังการเลือกตั้ง อยากให้รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบขึ้นค่าแรง เพราะตอนนี้ไม่พอใช้จ่าย ภรรยามีโรคไม่สามารถหาเงินได้ ตนต้องไปรับซื้อของเก่าเพื่อพยุงค่าใช้จ่ายต่างๆ
ทั้งนี้ นายสิลา บอกถึงการทำงานของเพื่อร่วมอาชีพว่า พนักงานบางคนเมื่อได้รับอุบัติเหตุ 2 เดือนยังทำงานไม่ได้นายจ้างให้ยื่นใบลาออก ตนมองว่าเรื่องนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายสันติ อายุ 44 ปี ชาวศรีสะเกษ อาชีพเดินสายสัญญาณสื่อสาร
เข้ามาทำงานในเมืองกรุงตั้งแต่อายุ 21 ปี ที่บ้านทำนา แต่ข้าวราคาถูกจึงเข้ามาทำงานหาเงินในเมือง เพราะอยู่บ้านไม่มีรายได้ งานก็หายาก ต้องมาล่าฝันในกรุง จะเก็บเงินสักก้อนเพื่อกลับไปลงทุนขายสินค้าสักอย่างที่ศรีสะเกษ หวังว่าหลังการเลือกตั้ง อยากให้แก้ปัญหาปากท้อง ขึ้นค่าแรง เพราะตอนนี้ค่าครองชีพแพง ยกตัวอย่างค่าข้าวตกมื้อละ 50 – 60 บาท
นายจิรันธนิน อายุ 27 ปี ชาวสุโขทัย อาชีพเข็นผักในปากคลองตลาด
ได้ค่าแรงในการเข็นผัก 15 – 20 บาทต่อรอบ ถ้าได้มากกว่านี้ก็ดี โดยเลือกตั้งครั้งนี้หวังว่า ผู้บริหาร จะมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานมากขึ้น เพราะอาชีพที่ทำตอนนี้สวัสดิการไม่ค่อยมี ในใจก็อยากให้มีสวัสดิการต่าง ๆ เข้ามาดูแลอย่างครอบคลุม
นายจิรันธนิน เล่าเพิ่มเติมว่า หาทุนสักก้อนก่อนถึงจะกลับบ้านเกิด แต่ถ้าทำนาก็มีความเสี่ยงและได้เงินรอบเดียวเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว
นายสายัณห์ อายุ 46 ปี อาชีพขี่รถตุ๊กตุ๊กรับจ้าง ชาวอุบลราชธานี
ให้บริการตุ๊กตุ๊กมา 30 ปีแล้ว ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นจะทำให้ มีผู้โดยสารเยอะ แต่ต้นทุนในการขี่ตุ๊กตุ๊กตอนนี้ ค่าเชื้อเพลิงแพง อยากให้รัฐบาลต่อไปมีมาตรการที่ทำให้ค่าเชื้อเพลิงลดลง จะได้มีเงินเพิ่มขึ้น การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ มีภาระหลายอย่างเพราะมีครอบครัวต้องเลี้ยงดู คิดว่า เมื่อลูกเรียนจบ มีงานทำ จะกลับอุบลราชธานี แต่ตอนนี้อยู่เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัวก่อน
นายดอน อายุ 54 ปี ชาวลพบุรี อาชีพรักษาความปลอดภัย ในร้านแห่งหนึ่งในถนนข้าวสาร สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ร้านขายอาหารทะเลของตนไปไม่รอด จึงเซ้งร้านแล้วออกมาเป็น พนักงานรักษาความปลอดภัยย่านประตูน้ำ และย้ายมาทำที่ถนนข้าวสาร ได้ 1 สัปดาห์ เพราะคิดว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลง เพราะเมื่อก่อนไปช้าต้องนั่งวินมอเตอร์ไซค์ไปทำงาน แต่วันนี้เดินก็ถึงแล้วปัจจุบันนักท่องเที่ยวมาเยือนถนนข้าวสารมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจแถวนี้ดี อยากให้คนมาเที่ยวเยอะๆ เพราะจะทำให้นายจ้างมีเงินเข้ากระเป๋า ซึ่งอาจจะทำให้ตนมีค่าจ้างมากขึ้นตามไปด้วย
ด้านสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมด้วยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันกรรมกรสากล โดยมีการรวมตัวก่อนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเดินไปเรียกร้องข้อเสนอที่เคยยื่นเมื่อปีที่แล้ว และข้อเสนอใหม่ต่อรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ “เผาสัญญาทาส”
โดยข้อเรียกร้อง ของสมาพันธ์ในปีนี้ มี 2 ข้อ คือ
1คำพูดจาก สล็อตวอเลท. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน
2. รัฐต้องลดค่าใช้จ่ายของประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานล่างในภาพรวมได้อย่างแท้จริง
ภาพ/แต่งกลอน: ชิน ชมดี